ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คำว่า “มูเตลู” เป็นคำพูดที่เกี่ยวกับความเชื่อ หรือเรียกอีกอย่างสั้นๆ ว่า สายมู และปัจจุบันมีหลายสถานที่หลายแห่งได้ส่งเสริมการท่องเที่ยว มูเตลู ถือเป็นหนึ่งใน Soft power ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของไทย
คำว่า “มูเตลู” ถูกนำมาใช้แทนความเชื่อความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของคนไทยที่มีมาอย่างช้านาน ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ความเชื่อทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังผสมผสานกับสิ่งเร้นลับทางธรรมชาติ โหราศาสตร์ ตลอดจนวัตถุมงคล/เครื่องรางของขลังต่างๆ ที่ผู้คนนับถือบูชา
“มูเตลู” ถูกกล่าวถึงกันอย่างแพร่หลาย โดยในด้านการท่องเที่ยว โดยหน่วยงานภาครัฐเริ่มให้การสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบนี้มากขึ้น การท่องเที่ยวมูเตลู ประมาณได้ว่าเหมือนกับ “การท่องเที่ยวเชิงศรัทธา (Faith-Based Tourism)”
สภาพัฒน์ หรือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า การท่องเที่ยวเชิงศรัทธาสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก จากในปี 2565 มีมูลค่า 1,370 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดการณ์ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น 3 เท่า หรือเท่ากับ 40,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับประเทศไทย จากการคาดการณ์ของกระทรวงพาณิชย์ พบว่า เฉพาะการแสวงบุญสามารถสร้างรายได้หมุนเวียนในระบบมากถึง 10,800 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.36% ต่อมูลค่าการท่องเที่ยวโดยรวมของประเทศในปี 2562
ตัวอย่างของคนสายมู ถ้าเป็นมูเตลูสถานที่ ได้แก่ วัด โบสถ์ มัสยิด ศาลเจ้า เทวสถาน รูปจำลอง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่มูเตลูที่ไม่ใช่สถานที่ ได้แก่ เครื่องรางของขลัง พิธีกรรม บุคคล
“ความหลากหลายของทรัพยากรสายมูฯ สะท้อนการมีพหุวัฒนธรรมซึ่งผสมผสานวัฒนธรรมทางศาสนา และความเชื่อของคนไทย ซึ่งกลายเป็น soft power ที่สามารถใช้ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ โดยต้องมีการส่งเสริมที่เหมาะสม”
ตัวอย่างการส่งเสริมการท่องเที่ยวมูเตลูในต่างประเทศ อย่างที่ฮ่องกง มีนโยบายส่งเสริม “วิถีการท่องเที่ยวแบบศาสนา” เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก และกรณีของเมือง เทสซาโลนีกิ ประเทศกรีซ เช่น จัดทำแผนที่การท่องเที่ยวสายมูฯ เชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยวอื่น, โฆษณาภาพลักษณ์ผ่านสโลแกน, สร้างเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่เรื่องราวของสถานที่ และออกแบบของที่ระลึก เป็นต้น
(ที่มา : สภาพัฒน์)คำพูดจาก ทดลองเล่นสล็อต